Tag: วีธีดูแลสัตว์เลี้ยว
-
ทำไมหมาถึงไม่ควรกินอาหารแมว?
หลายคนอาจสงสัยว่าสามารถให้น้องหมากินอาหารแมวได้หรือไม่ เพราะบางบ้านเลี้ยงทั้งสุนัขและแมวพร้อมกัน ซึ่งเมื่อถึงเวลาให้อาหารก็อาจมีความสะดวกที่จะให้อาหารแบบเดียวกันไปเลย แต่การให้น้องหมากินอาหารแมวจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก แม้ว่าหมาจะชอบแอบกินอาหารของแมวอยู่บ่อย ๆ แต่มีเหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงการให้น้องหมากินอาหารแมวในระยะยาว ทำไมหมาชอบกินอาหารแมว? อาหารของน้องแมวโดยธรรมชาติจะมีกลิ่นหอมและรสชาติที่ยั่วใจหมา เนื่องจากแมวเป็นสัตว์กินเนื้อเพียงอย่างเดียว (True Carnivorous) ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องการโปรตีนในปริมาณสูง ในทางตรงกันข้าม สุนัขเป็นสัตว์กินทั้งพืชและเนื้อ (Omnivorous) ทำให้ความต้องการโปรตีนของพวกเขาน้อยกว่าแมว ดังนั้น อาหารแมวจึงมีปริมาณโปรตีนและไขมันสูงกว่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้องหมาชอบขโมยกินอาหารแมว ผลกระทบต่อสุขภาพหากน้องหมากินอาหารแมว แม้ว่าการกินอาหารแมวบ้างเป็นครั้งคราวอาจไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของน้องหมามากนัก แต่หากน้องหมากินอาหารแมวเป็นประจำในระยะยาว อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับไตและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โปรตีนในอาหารแมวมีปริมาณสูงมาก ซึ่งอาจทำให้ไตของสุนัขทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคไตหรือนิ่ว นอกจากนี้ยังอาจทำให้ขาดสมดุลของแร่ธาตุบางชนิดที่จำเป็นสำหรับสุนัขได้ เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน อาหารแมวมีไขมันสูง เมื่อสุนัขกินเข้าไปบ่อย ๆ จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะในลูกสุนัขที่ได้รับโปรตีนและไขมันมากเกินไป อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายไม่สมส่วนและทำให้รูปร่างผิดปกติได้ วิธีป้องกันไม่ให้น้องหมากินอาหารแมว เพื่อลดความเสี่ยงในการที่น้องหมาจะกินอาหารแมว เราสามารถใช้วิธีเหล่านี้เพื่อป้องกันได้ เก็บอาหารแมวให้ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารสำเร็จรูปสำหรับแมวถูกเก็บในที่ที่สุนัขไม่สามารถเข้าถึงได้ เปลี่ยนตำแหน่งการให้อาหารแมว ให้อาหารแมวในที่สูง ซึ่งสุนัขไม่สามารถปีนขึ้นไปถึงได้ ห้ามเมื่อเห็นสุนัขจะกินอาหารแมว การเตือนหรือฝึกให้สุนัขรู้ว่าไม่ควรกินอาหารแมวเป็นสิ่งสำคัญ เปลี่ยนเวลาให้อาหาร ให้สัตว์เลี้ยงทั้งสองกินอาหารในเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อลดโอกาสที่สุนัขจะกินอาหารแมว…
-
โรคไข้หวัดแมว ภัยร้ายที่ทาสควรรู้
โรคไข้หวัดแมว (Cat Flu) เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในแมวโดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยอย่างเช่น ฝนตกหรือแดดออก ร่างกายของแมวก็จะมีโอกาสอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากขึ้น เช่นเดียวกับมนุษย์ การพาแมวออกไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ หรืออยู่ในพื้นที่ที่แมวหลายตัวอยู่ร่วมกัน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อหวัดเพิ่มได้ เชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดแมว โรคไข้หวัดแมวเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของแมว โดยมีเชื้อไวรัสหลักที่ทำให้เกิดโรค เช่น Feline herpes virus (FHV-1) และ Feline calicivirus (FCV) นอกจากนี้ ยังมีแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุเพิ่มเติม เช่น Chlamydia spp Bordetella bronchiseptica และ Mycoplasma spp ซึ่งเชื้อเหล่านี้พบได้ทั่วไปในอากาศ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของเชื้อที่แมวติดเชื้อ บางสายพันธุ์อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้แมวเสียชีวิตได้ การติดต่อของโรคไข้หวัดแมว โรคไข้หวัดแมวสามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำตา น้ำมูก ของแมวที่ติดเชื้อ แมวที่ได้รับเชื้อจะนำเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก หรือตา จากนั้นเชื้อจะเข้าสู่เซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบและแสดงอาการของโรค อันตรายยิ่งขึ้นเมื่อแมวอยู่ร่วมกันหลายตัวในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากจะทำให้การแพร่กระจายของเชื้อรวดเร็ว นอกจากนี้ แมวที่เคยป่วยเป็นไข้หวัดแมวและหายแล้ว ก็ยังสามารถเป็นพาหะนำเชื้อได้อีกด้วย อาการของโรคไข้หวัดแมว แมวที่ ติดเชื้อไข้หวัดแมว…