หมา

ขูดหินปูนให้กับสัตว์เลี้ยงจำเป็นมั้ย?

สุขภาพช่องปากของสัตว์เลี้ยงมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม แต่จริงๆ แล้วก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของสัตว์เลี้ยง การดูแลฟันของน้อง ๆ

เช่น การขูดหินปูน ก็จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่คนเลี้ยงสัตว์เลี้ยงควรใส่ใจ เพราะหากปล่อยให้มีหินปูนสะสมในระยะยาวก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงได้อย่างมาก

หมา

สาเหตุของการเกิดหินปูนในสัตว์เลี้ยง

หินปูนเกิดจากการสะสมของคราบน้ำลาย เศษอาหารและแบคทีเรียที่สะสมอยู่ตามซอกฟันและใต้ขอบเหงือก ซึ่งเป็นจุดที่ยากต่อการทำความสะอาด หากสัตว์เลี้ยงไม่เคยได้รับการแปรงฟันหรือดูแลช่องปากที่เหมาะสม คราบเหล่านี้จะค่อย ๆ ก่อตัวเป็นหินปูนที่แข็งและนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในช่องปากอื่น ๆ ต่อไปได้

หากไม่ขูดหินปูนในสัตว์เลี้ยงจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง?

การสะสมของหินปูนในระยะยาวส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น กลิ่นปาก โรคเหงือกอักเสบ ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการรุนแรงขึ้น อาจเกิดการติดเชื้อในเหงือกและนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด

หากยังไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจมีอาการเหงือกร่น ฟันหลุดหรือจำเป็นต้องถอนฟัน ซึ่งสามารถสร้างความเจ็บปวดให้สัตว์เลี้ยงหรือทำให้เขาไม่อยากกินอาหารก็ได้ นอกจากนี้หินปูนยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของสัตว์เลี้ยง ทำให้ร่างกายอ่อนแอและเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ มากขึ้นไปอีก

หมา

 

กระบวนการขูดหินปูนในสัตว์เลี้ยง

การ ขูดหินปูนในสัตว์เลี้ยง โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อเคส โดยจะมีขั้นตอนตามมาตรฐานดังนี้

  1. ตรวจเลือดก่อนการขูดหินปูน เพื่อประเมินสุขภาพของสัตว์เลี้ยงและตรวจสอบว่าพร้อมรับการรักษาหรือไม่ หากผลเลือดเป็นปกติ จึงจะสามารถดำเนินการขูดหินปูนได้
  2. งดน้ำและอาหาร สัตว์เลี้ยงต้องงดน้ำงดอาหารเป็นเวลา 6-12 ชั่วโมงก่อนการขูดหินปูน เพื่อป้องกันปัญหาขณะใช้ยาสลบ
  3. การวางยาสลบ การขูดหินปูนในสัตว์เลี้ยงต้องทำภายใต้การวางยาสลบเพื่อความปลอดภัยและให้สัตวแพทย์สามารถทำความสะอาดคราบหินปูนได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่มองเห็นได้ง่ายหรือส่วนที่อยู่ใต้เหงือก โดยหากพบฟันที่เสียหายหรือมีความจำเป็นต้องถอนฟัน ก็จะทำในขั้นตอนนี้ด้วยเช่นกัน

การดูแลหลังการขูดหินปูน

หลังจากการขูดหินปูน สัตว์เลี้ยงจะต้องฟื้นตัวจากยาสลบและรับการตรวจเช็กสุขภาพโดยสัตวแพทย์อีกครั้ง เมื่อมั่นใจว่าสัตว์เลี้ยงไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก็จะถูกส่งตัวไปพักในห้อง admit เพื่อเฝ้าดูอาการเป็นเวลา 1 คืน หากไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ สัตว์เลี้ยงก็สามารถกลับบ้านได้เลย

จากนั้นเจ้าของจะต้องป้อนยาและดูแลการกินยาของสัตว์เลี้ยงให้ครบตามกำหนด พร้อมทั้งมีการนัดตรวจสุขภาพช่องปากครั้งต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพช่องปากของสัตว์เลี้ยงกลับมาดีและไม่มีปัญหาใหม่เกิดขึ้น


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

7 + four =